Friday, November 22, 2013

'Suho EXO'





Suho 2Suho 4

Birth Name: Kim Joon Myeon

Stage Name: Suho

Super Power (Badge): Water

Nickname: Sunnouncer (Suho + Announcer), Esuhort (Suho + Escort)

Date of Birth: May 22, 1991

Height: 173 cm

Nationality: Korean

Blood Type: AB

Suho 1

Position: Leader (Guardian of EXO), Lead Vocalist

Specialties: Acting, golf

Education: Korea National University of Arts – Acting

Fun Facts:

- He’s also known as the second Choi Siwon.

- He shares room with Sehun.

- He was discovered through street casting and joined SM in 2006.

- His habit is clearing his throat by saying ”ah!”.

- His ideal type is a girl with literary interests and has long straight hair.

- His personality is exemplar, polite and considerate.

- His favorite movie is “Pirates of The Caribbean”.

- His motto is “Know Yourself…”.

- He made a brief appearance in TVXQ’s music video, “HaHaHa Song” along with EXO-K’s Kai and Chanyeol.

- He’s also good at making honey water.

- He pushes for peaceful conversations to solve problems and always buys the members delicious things. He’ll even check in with each and every member to see if they have any worries or concerns.

Suho 3

Suho 5

Monday, November 18, 2013

สรุปย่อวิทยานิพนธ์"ท่วงทำนองแห่งสีสัน!!!!"

ท่วงทำนองแห่งสีสัน
ธันยภฦศ   ฟองดาวิรัตน์
ศิลปะมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

บทคัดย่อ
ผลงานวิทยานิพนธ์ชุดทำนองแห่งสีสันเป็นผลงานศิลปกรรมที่มุ่งนำเสนอความสนุกสนานของสีและแสงซึ่งได้แรงบันดาลใจจากเสียงดนตรี สี แสงจากการแสดงดนตรีสด ทั้งยังมีการพัฒนาอันมีฐานจากผลงานในอดีตของข้าพเจ้า รวมไปถึงการพัฒนาต่อยอดจากผลงานศิลปะระดับมาสเตอร์พีซ ผ่านกระบวนการสร้างสรรค์ออกสู่ภาพลักษณ์ของผลงานศิลปะรูปทรงเรขาคณิตสี่เหลี่ยมและสามเหลี่ยมขนาดต่างๆ แสดงรายละเอียดของเนื้อหาโดยกรรมวิธีการพิมพ์เลเซอร์-ปริ๊นท์(Laser Print) ประกอบลงบนด้านแต่ละด้านของรูปทรงปริมาตรสี่เหลี่ยมและสามเหลี่ยมซึ่งมีการติดตั้งหลอดไฟภายในตัวชิ้นงาน เพื่อแสดงความสดจัดของสี ให้สีและแสงร่วมกันทำหน้าที่บรรเลงทำนองแห่งสีสันที่ข้าพเจ้าได้สร้างสรรค์ขึ้น
                วิทยานิพนธ์ชุดนี้ได้ทำการบันทึกที่มาแห่งแรงบันดาลใจ วัตถุประสงค์ของโครงการ ขอบเขตของการสร้างสรรค์  แนวความคิด การหาข้อมูล การสร้างภาพร่าง-แบบจำลอง กระบวนการสร้างสรรค์ผลงาน ภาพผลงาน การวิเคราะห์พัฒนาการของผลงานสร้างสรรค์  การแทนค่าความหมาย และพัฒนาการต่อยอดจากผลงานศิลปะระดับมาสเตอร์พีซซึ่งให้อิทธิพลแก่ข้าพเจ้า รวมไปถึงปัญหา วิธีการแก้ปัญหาซึ่งส่งผลให้วิทยานิพนธ์นี้บรรลุตามวัตถุปะสงค์ที่ข้าพเจ้ากำหนดไว้ ตลอดจนการจุดประกายประเด็น แง่คิดใหม่ที่เกิดขึ้นระหว่างการทำงาน จนถึงภายหลังจากที่ผลงานเสร็จสมบูรณ์แล้ว ซึ่งถือเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อตัวข้าพเจ้าเองในการพัฒนาสู่ผลงานสร้างสรรค์ต่อไปในอนาคต รวมไปถึงประโยชน์แก่ผู้สนใจและผู้ที่ต้องการนำไปเป็นกรณีศึกษาอันก็ให้เกิดพัฒนาการทางการสร้างสรรค์ศิลปกรรมต่อไป

1. บทนำ
วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีที่มาและความสำคัญ คือ สีและแสงจัดเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการแสดงดนตรีสดไม่น้อยไปกว่าเรื่องของเนื้อดนตรี ประกอบกับสีและแสงเป็นเรื่องของการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสทางตาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ว่างรอบๆคัวซึ่งปกคลุมไปด้วยความมืด ทำงานร่วมกับการรับรู้ด้วยโสตสัมผัสที่ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจต่อการนำมาสร้างสรรค์เป็นผลงานศิลปะหรือกล่าวได้ว่าเป็นอิทธิพลที่ได้รับซึ่งส่งผลต่อการสร้างสรรค์ผลงาน ดังนี้คือ หนึ่งสีและแสงจากการแสดงดนตรีสด(Live  Music) นั่นคือ สีและแสงช่วยสร้างบรรยากาศ ทำให้เกิดความรู้สึกร่วม และคล้อยตามกับการสื่อสารจากผู้บรรเลงดนตรีมาสู่ผู้ชมอย่างเป็นหนึ่งเดียวกัน ผลงานศิลปะของข้าพเจ้าต้องการมุ่งเน้นถึงความสนุกสนานของดนตรีเป็นหลัก ดังนั้นการเลือกใช้สีจึงเป็นไปในด้านการใช้สีที่ต่างวรรณะกัน เพื่อให้เกิดความสนุกสนาน และระยิบระยับเป็นส่วนใหญ่ สองคือศิลปะ นั่นคือ ในการสร้างสรรค์ผลงานชุดวิทยานิพนธ์นี้ ข้าพเจ้าต้องการปรับปรุงแก้ไขปัญหาที่ผ่านมา สร้างความสมดุล และความสัมพันธ์ใหม่ในความรู้สึกของข้าพเจ้า เพื่อให้รูปทรง แสง และสี ได้ทำงานร่วมกันประสานท่วงทำนองแห่งสีสันต่อทั้งตัวผลงานเองและผู้ชมที่เข้ามาอยู่ในบรรยากาศแห่งสีสันนี้  โดยมีวัตถุประสงค์คือ เพื่อนำเสนอผลงานศิลปะที่แสดงอารมณ์ ความรู้สึกสนุกสนานของสี และแสง ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากเสียงดนตรี เพื่อศึกษาการใช้สี การแปรค่าของเสียงดนตรีออกมาเป็นสี การจัดการกับสีและแสง เทคนิควิธีการ รวมไปถึงการจัดการกับวัสดุ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลงานศิลปะที่มีความสนุกสนาน ความระยิบระยับของสีและแสง  โดยมีขอบเขตของการสร้างสรรค์ ดังนี้คือ พื้นที่ห้องขนาดความกว้าง 5 เมตร ความยาว 9  เมตร ความสูง 4 เมตร สำหรับนำเสนอผลงานเรื่องท่วงทำนองแห่งสีสัน(Rhythmic  Colours) ในลักษณะของศิลปะจัดวาง(Installation)ซึ่งมีรูปทรงสี่เหลี่ยม และสามเหลี่ยมขนาดด่างๆจำนวน 47 ชิ้นแสดงรายละเอียดเนื้อหาด้วยกรรมวิธีการพิมพ์เลเซอร์ ปริ้นท์(Laser Print) ประกอบลงบนด้านแต่ละด้านของรูปทรงสี่เหลี่ยม และสามเหลี่ยม ซึ่งมีการติดตั้งหลอดไฟภายในทุกชิ้นงาน เพื่อให้สีและแสงร่วมกันทำหน้าที่บรรเลงท่วงทำนองแห่งสีสันที่ข้าพเจ้าได้สร้างสรรค์ขึ้น  โดยแนวความคิดในการสร้างสรรค์ คือ ข้าพเจ้าต้องการนำเสนอผลงานศิลปะที่เป็นเรื่องราวของสี ทำงานร่วมกับแสงแสดงการประสานกัน การตัดกันของสีและแสง ภายใต้โครงสร้างเรขาคณิตในการจัดการกับความระยิบระยับของสี โดยสร้างให้พื้นที่ทั้งหมดเป็นสภาพแวดล้อมที่เสมือนแสง และสีที่สดจัดเหล่านี้โอบรอบผู้ชมให้เกิดความรู้สึกตื่นตา สนุกกับปฏิกิริยาที่ตอบโต้กันระหว่างสีแสงของแต่ละรูปทรงกับพื้นที่ว่างที่แสงกระจายออกทับซ้อนกันในหลายทิศทาง พร้อมทั้งให้ผู้ชมได้จินตนาการตอบโต้ร่วมไปกับผลงานของข้าพเจ้า
โดยมีขั้นตอนในการดำเนินงานสร้างสรรค์ ดังนี้ การนำแนวคิดเข้าสู่รูปธรรมของงานศิลปะนั้น  ข้าพเจ้าจำเป็นต้องสร้างภาพร่างและแบบจำลองขึ้นก่อน เพื่อเป็นแนวทางส่งให้กับกระบวนการสร้างสรรค์  ดังนั้นการหาข้อมูลจึงจัดเป็นความสำคัญเบื้องแรกของการสร้างสรรค์ ซึ่งข้าพเจ้าได้มุ่งสู่เรื่องของดนตรี สี และแสงจากการแสดงดนตรีสด  สถานที่ในการนำเสนอผลงาน และเทคนิควิธีการสร้างสรรค์  จากการหาข้อมูล ข้อมูลจำแนกออกเป็น 4 ส่วนใหญ่ๆ คือ ดนตรี สี-แสง เทคนิควิธีการสร้างสรรค์ และสถานที่นำเสนอผลงาน หนึ่งดนตรี องค์ประกอบของดนตรี เพื่อนำมาซึ่งความสัมพันธ์ในเชิงของทัศนธาตุทางศิลปะต่างๆ สำหรับการนำไปสร้างสรรค์เป็นผลงานศิลปะ สองสีและแสงจากการแสดงดนตรีสด   ข้าพเจ้าพบว่าในการแสดงดนตรีที่ดีควรจะต้องมีการใช้สีที่เหมาะสมเป็นสื่อทำการถ่ายทอดอารมณ์ของดนตรี ความสว่างหรือแสงซึ่งทำหน้าที่นำสายตาของผู้ชมไปยังผู้บรรเลงหลักในแต่ละท่อนของดนตรี ทิศทางของแสงทำให้เกิดมิติทางการมองเห็นซึ่งส่งผลต่อมิติอารมณ์ของผู้ชม รวมทั้งจังหวะการกระพริบก็เป็นตัวกำหนดทิศทางการเคลื่อนไหวที่สอดประสานไปกับจังหวะของดนตรีอย่างกลมกลืน
สามสถานที่นำเสนอผลงาน สถานที่ที่จะรองรับการติดตั้งผลงานควรเป็นพื้นที่ที่มืดสนิท สามารถใช้พื้นที่ฝาผนังในการติดตั้งผลงานได้โดยรอบ ขนาดของห้องมีความเหมาะสม สอดคล้องกับจำนวนย่อยของชิ้นงาน และองค์รวมของผลงาน และสี่เทคนิค และวิธีการสร้างสรรค์  ข้าพเจ้ารวบรวมข้อมูลมาทำการวิเคราะห์ เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการสร้างภาพร่างและแบบจำลอง ในส่วนของข้อมูลที่ได้จากดนตรีนั้นข้าพเจ้าตัดสินใจเลือกใช้เฉพาะแนวดนตรีที่ไม่ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจมาก ใช้เพียงอารมณ์ความรู้สึกในการเข้าถึง  โดยการสร้างภาพร่าง-แบบจำลอง เป็นไปตามนี้ เริ่มต้นจากการนำข้อมูลของขนาดสถานที่มาย่อส่วนลงในอัตราส่วน 1:20 ทำการร่างแบบของตัวผลงานชิ้นต่างๆลงบนพื้นและผนังแต่ละด้าน เพื่อให้สอดคล้องกับแนวความคิดที่กำหนดไว้ จากนั้นสร้างแบบจำลองสามมิติของสถานที่แสดงผลงานและตัวผลงานขึ้น ทำการจัดวางตามภาพร่าง  ต่อจากนั้นจึงกำหนดสีหลักที่ใช้ในแต่ละด้านของรูปทรง พร้อมทั้งคำนึงถึงการกระจายออกและทับซ้อนกันของแสง ระหว่างผลงานแต่ละชิ้นกระบวนการสร้างสรรค์ผลงาน มีดังนี้ ใช้เทคนิคเลเซอร์ ปริ้นท์ ในการสร้างสรรค์ผลงาน เพื่อให้ตัวผลงานเกิดความสมบูรณ์สูงสุด เหมาะสมที่สุดทั้งในแนวความคิด และในทางเทคนิค วิธีการของการจัดการกับวัสดุ ข้าพเจ้าเลือกใช้เทคนิคการพิมพ์เลเซอร์ ปริ้นท์ พิมพ์ลงบนแผ่นสติ๊กเกอร์ที่มีความโปร่งแสง งานพิมพ์ที่ได้จากเทคนิคการพิมพ์นี้มีความเรียบเนียน คมชัด เป็นไปตามที่ข้าพเจ้าต้องการ
ขั้นตอนในการสร้างรูปทรงทั้งหมดของผลงานสามารถลำดับได้ดังนี้คือ พิมพ์ผลงานลงบนสติ๊กเกอร์การประกอบผลงาน การเก็บรายละเอียด การติดตั้งผลงาน และการแก้ปัญหาทางด้านสุนทรีย์ในการติดตั้ง ณ สถานที่แสดงผลงาน

2. บทวิเคราะห์
                ในบทวิเคราะห์ผลงงานสร้างสรรค์นี้ นอกจากจะเอื้อประโยชน์ต่อตัวข้าพเจ้าในการทบทวนความชัดเจนให้กับตัวผลงานทั้งในทางรูปแบบ และแนวความคิด อันเป็นผลดีในการปรับปรุงหรือพัฒนาการสร้างสรรค์ต่อไปในอนาคตแล้ว ข้าพเจ้ามีความเห็นว่าสามารถเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาศิลปะด้วย ข้าพเจ้าได้ทำการวิเคราะห์ผลงานสร้างสรรค์ในประเด็นหลัก 3 ประเด็น ดังนี้ หนึ่งพัฒนาการของผลงานสร้างสรรค์ สองการแทนค่าความหมาย และสามพัฒนาการต่อยอดจากผลงานศิลปะ 3 ศิลปิน
พัฒนาการของผลงานสร้างสรรค์    
      จากการสร้างสรรค์ผลงานในอดีตที่ผ่านมาของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าได้พัฒนาทั้งแนวความคิดและทำการทดลอง ปรับปรุง การใช้ทัศนธาตุ รวมไปถึงเทคนิควิธีการ โดยการหาความเป็นไปได้ในการกำหนดให้สีทำงานร่วมกับแสง ข้าพเจ้าได้พบปัญหาจากผลงานทั้งในเรื่องการใช้ลักษณะผิว และการใช้เสียงดนตรีประกอบผลงาน ซึ่งอธิบายรายละเอียดได้ดังนี้
ปัญหาจากการใช้ลักษณะผิว ลักษณะผิวที่ข้าพเจ้าสร้างขึ้นสำหรับแสดงอารมณ์ ความรู้สึกของจังหวะ และอารมณ์ดนตรีนั้น มีลักษณะเป็นรูปร่างอิสระ เพื่อให้เกิดความรู้สึกเคลื่อนไหวไปกับดนตรี แต่เมื่อนำไปประกอบรวมกันทั้งหมดแล้วพบว่าไม่สามารถสนับสนุนแนวคิดของข้าพเจ้าได้ จากปัญหานี้ทำให้ข้าพเจ้าได้เรียนรู้ว่าลักษณะผิวแบบอิสระที่ข้าพเจ้าสร้างสรรค์นี้ไม่สามารถถ่ายทอดได้ตรงตามแนวคิด
ปัญหาจากการใช้เสียงดนตรี การนำดนตรีเข้าไปประกอบกับผลงานนามธรรมของข้าพเจ้าเปรียบได้กับการบรรจุเรื่องราวและเนื้อหาให้กับผลงานมากเกินไป จนทำให้เสน่ห์ของจินตนาการอันเกิดจากการชมผลงานศิลปะแบบนามธรรมนั้นหายไป
ผลงานในชุดก่อนได้ให้ประสบการณ์ที่ดียิ่งต่อการสร้างสรรค์ผลงานชุดนี้ การปรับเปลี่ยนลักษณะผิวจากรูปร่างเรขาคณิตได้ร่วมเสริมความระยิบระยับของสีและแสงให้เกิดความแพรวพราวยิ่งขึ้นและช่วยให้การบรรเลงท่วงทำนองของข้าพเจ้าโด้ตอบโต้กับจินตนาการของผู้ชมได้เต็มที่เช่นกัน
การแทนค่าความหมาย
                ข้าพเจ้าได้ทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบสีและเสียงจากเครื่องดนตรี สีกับจังหวะทาง ทัศนธาตุ และจังหวะทางดนตรี เพื่อเป็นข้อมูลต่อการสังเคราะห์สู่รูปธรรมของผลงาน สีน้ำเงินเป็นสีที่ให้ความรู้สึกหนักแน่นและเคร่งขึม เปรียบเสียงกลองที่ทำหน้าที่ควบคุมโครงสร้างของจังหวะให้แก่ดนตรีชิ้นอื่น สีม่วงให้ความรู้สึกมีเสน่ห์ เร้นลับ ซ่อนเร้น และมีอำนาจ เปรียบได้กับเสียงเบสที่มีหน้าที่เชื่อมประสานระหว่างกลองกับเครื่องดนตรีชิ้นอื่น สีเขียวสร้างความรู้สึกรื่นรมย์  เย็น และผ่อนคลาย เปรียบท่วงทำนองแห่งเสียงเปียโน สีส้มให้ความรู้สึกสดใส มีชีวิตชีวา และคึกคัก ความสดจัดของสีส้มสามารถโน้มนำสายตาของผู้ชมในการชมงานศิลปะเปรียบดั่งเสียงร้อง สีเหลืองสร้างความรู้สึกร่าเริง เบิกบาน และสนุกสนานเปรียบดังเครื่องเคาะจังหวะที่เป็นเครื่องดนตรีที่กำหนดสีสัน ความสนุก ข้าพเจ้าได้จัดระเบียบสีที่ได้จากการเปรียบเทียบโดยคำนึงควบคู่ไปกับจังหวะของแนวดนตรีต่างๆ เช่น แนวเพลงลาติน(Latin) และเรกเก้(Reggae) ซึ่งมีเอกลักษณ์โดดเด่นมุ่งเน้นการแสดงตัวของเครื่องเคาะจังหวะ(Percussions)  ผลงานสร้างสรรค์ที่ปรากฏขึ้นจึงเป็นผลงานที่ใช้โทนสีส้มเหลืองเป็นหลักในการแสดงออก แนวเพลงเอสิด แจ๊ส(Acid Jazz) ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องของจังหวะมากเป็นพิเศษ สีน้ำเงินที่หมายถึงกลอง (Drums) และสีม่วงซึ่งเปรียบดังเสียงเบส (Bass)จึงถูกเลือกใช้เป็นแนวโครงสีของชิ้นงานนั้น แนวเพลงลูกทุ่งและแนวเพลงลูกกรุง ให้ความสำคัญกับภาษา การร้อง และจังหวะ สีที่ถูกเลือกนำมาสร้างสรรค์ในปริมาณมากจึงเป็นโครงสีส้ม สีแดง เป็นต้น
พัฒนาการต่อยอดจากผลงานศิลปะของ 3 ศิลปิน
                ผลงานศิลปะของศิลปินที่ส่งผลต่อการสร้างสรรค์ของข้าพเจ้าเป็นผลงานศิลปะของ 3 ศิลปินซึ่งได้แก่
                -การใช้เส้นดำในการแบ่งพื้นที่ว่างให้เกิดรูปร่างสี่เหลี่ยมเรขาคณิตของเพียท มองเดรียน(Piet Mondrian) ซึ่งเปรียบเสมือนการจัดระเบยบรูปร่างเรขาคณิตบนผืนผ้าใบ เป็นฐานต่อยอดให้ข้าพเจ้าในการจัดจังหวะรูปทรงเรขาคณิตของข้าพเจ้าให้มีความาสูงต่ำระดับต่างๆ
                -การสร้างลักษณะการลวงตาด้วยรูปร่างร่างเรขาคณิต 2 มิติขิงวิคเตอร์ วาซาเรลี่                     (Victor Vasarely)เป็นฐานให้ข้าพเจ้าในการต่อยอดสู่การสร้างความระยิบระยับบนผิวรูปทรงเรขาคณิต ซึ่งเป็นดังโน้ตดนตรีทั้งหมดของข้าพเจ้า
                -การใช้ทัศนธาตุที่หลากหลาย จัดวางอย่างซับซ้อน และสอดรับกันในการแสดงเนื้อหาเกี่ยวข้องกับดนตรีของวาสซิลี่ คานดินสกี้(Wassily Kandinsky)เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ส่งให้ข้าพเจ้าทำการประพันธ์ดนตรีขึ้นจากแนวเพลงที่หลากหลาย เพื่อให้แนวเพลงเหล่านี้ทั้งสอดประสาน และขัดกันบางขณะได้แปลความ แสดงตัวออกมาในรูปลักษณ์ของสีที่แสดงความสนุกสนาน และความสดใส
                การที่ข้าพเจ้านำแรงบันดาลใจและอิทธิพลจากผลงานศิลปะของทั้ง 3 ศิลปินมาเป็นฐานสำคัญในการสร้างสรรค์ผลงานของข้าพเจ้านั้น กล่าวได้ว่าเป็นการนำผลงานของศิลปินในอดีตมาปรับใช้ต่อการสร้างสรรค์ผลงานชุดท่วงทำนองแห่งสีสัน สามารถจัดอยู่ในประเภทศิลปะแอ็พโพรพริเอชั่น(Appropriation Art) ซึ่งเป็นลักษณะหนึ่งของผลงานศิลปะที่ผลิแตกอย่างรวดเร็วในช่วงยุคสมัย              โพสต์โมเดิร์น(Postmodern) ซึ่งศิลปินนิยมนำภาพต่างๆจากศิลปินที่มีชื่อเสียงระดับโลกมาปรับปรุงต่อเติมใหม่ เชื่อมรวมกับจินตนาการของตนเองและสร้างสรรค์ออกมา  หากแต่การรับเอาอิทธิพลเหล่านี้มาสร้างสรรค์ผลงานของข้าพเจ้านั้นได้ผ่านกระบวนการในการแปรค่าแรงบันดาลใจสู่การกำหนดแนวคิด การแทนค่าความหมาย การจัดองค์ประกอบ เทคนิค วิธีการ และวัสดุในกระบวนการสร้างผลงาน รวมไปถึงรูปแบบในการนำเสนอผลงานที่แตกต่างกันไป อันนำมาซึ่งบุคลิกใหม่เฉพาะตัวต่อผลงานสร้างสรรค์ของข้าพเจ้า

3. สรุป
วิทยานิพนธ์ชุดนี้เป็นการนำเสนอผลงานศิลปกรรมที่ต้องการให้รู้สึกถึง ความรู้สึกสนุกสนาน ความระยิบระยับของสี และแสง รวมทั้งจังหวะต่างๆของรูปทรงที่ให้สี และแสงที่ทำหน้าที่ตอบโต้กัน การก่อเกิดทั้งหมดนี้มีที่มาจากแรงบันดาลใบหลายประการซึ่งไม่ว่าจะเป็นภูมิหลังเกี่ยวกับดนตรี ทั้งผู้ประพันธ์และนักดนตรี การเป็นนักศึกษาสายศิลปกรรม และการรับอิทธิพลจากผลงานศิลปกรรมระดับมาสเตอร์พีซก็ตาม แรงบันดาลใจทั้งหมดนี้ได้ก่อแนวความคิดสู่รูปธรรมเป็นผลงานสร้างสรรค์ในชุดท่วงทำนองแห่งสีสันซึ่งได้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการศึกษาการใช้สี และแสงการแปรค่าเสียงดนตรีออกเป็นสี การจัดการกับวัสดุ ตลอดจนเทคนิค และวิธีกาที่สามารถตอบสนองแนวความคิด รวมทั้งให้ผู้ชมได้จินตนาการตอบโต้ร่วมกับสี และแสงนำพาอารมณ์ความความรู้สึกที่สัมผัสรับรู้จากตาสู่โสตสัมผัสได้อย่างกลมกลืน
                การสร้างสรรค์ผลงานท่วงทำนองแห่งสีสัน ทำให้ข้าพเจ้าได้เพิ่มพูนความรู้ทางวิธีการจัดการวัสดุ เพิ่มทักษะจากการสร้างรูปทรงให้เป็นหน่วยย่อยต่างๆหลายชิ้นในชุดผลงาน ในส่วนของการติดตั้งซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายนอกจากได้ทำให้ข้าพเจ้าเรียนรู้ถึงปัญหา และการแก้ปัญหาแล้ว ในส่วนของภาพรวมได้จุดประกายความคิดต่อข้าพเจ้าในทางกลับกันคือ ผลงานศิลปกรรมชุดนี้สามารถเป็นกลายเป็นตัวจุดแรงบันดาลใจให้ข้าพเจ้าในการนำไปปรับสร้างบรรยากาศร่วมกับการแสดงดนตรีสดขงข้าพเจ้า พร้อมกันนั้นก็สามารถทำให้ข้าพเจ้าประพันธ์ดนตรีขึ้นต่อประสาทตาที่รับรู้ต่อผลงานชุดนี้  เหนืออื่นใดคือทำให้ข้าพเจ้าเห็นแนวทางที่จะสร้างสรรค์ผลงานในอนาคตให้รูปแบบทางทัศนศิลป์ทำงานร่วมกับเสียงดนตรีได้อย่างเป็นเอกภาพ
                ดังนั้นวิทยานิพนธ์ชุดท่วงทำนองแห่งสีสันจึงเปรียบได้กับบทสรุปการทดลองค้นหาสุนทรียภาพจากสีและแสงอีกแนวทางหนึ่ง ซึ่งข้าพเจ้าหวังว่าสามารถให้ประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจ และผู้ที่ต้องการนำไปเป็นกรณีศึกษา หรืออื่นใดที่ก่อให้เกิดการพัฒนาทางสร้างสรรค์ศิลปกรรมต่อไปในอนาคต


























เอกสารอ้างอิง
จิระพัฒน์ พิตรปรีชา, ผศ. โลกศิลปะ : ศตวรรษที่20. กรุงเทพมหานคร : เมืองโบราณ, 2545.
ณรุทธ์ สุทธจิต. สังคีตนิยม : ความซาบซึ้งในดนตรีตะวันตก. พิมพ์ครั้งที่ 5 ฉบับปรับปรุงแก้ไข.                                กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2540.
บรรณรักษ์ นาคบรรลังค์ (ตรวจประเมิน และวิจารณ์ผลงานศิลปะในกระบวนการวิชา Printmaking Project              สาขาวิชาภาพพิมพ์ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่),        2549.
รสลิน กาสต์, รศ. แอ็พโพรพริเอชั่นอาร์ต. FINE ART. 22(3). กรุงเทพมหานคร : บริษัท เดอะ    เกรทไฟน์              อาร์ท จำกัด, 2549.
สาธิตไกวัลวรรธนะ. Light On Stage – รอบรู้เรื่องหลอด. The Absolute Sound & Stage. 53, มกราคม.    กรุงเทพมหานคร : บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด(มหาชน), 2550.
Deicher, Susanne. MONDRIAN. Koln : Taschen, 2004.
Duchting, Hajo. KANDINSKY. Koln : Taschen, 2000.
Holzhey, Magdalena. VASARELY. Koln : Taschen, 2005.
ความรู้สึกเกี่ยวกับสีในเชิงจิตวิทยา. (no date)[ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา       http://www.pcr.ac.th/newart/webart/composition.html (24 มกราคม 2550).
Da Vinci, Lonado. Portrait of Mona Lisa. (no date) [online]. Available                                        http://www.ibiibo.org/wm/paint/auth/vinci/joconde/ (16 November                 2550).
Duchamp, Marcel. L.L.O.O.Q.. (no date)[online]. Available                 http://www.mus.ulaval.ca/lacasse/cours/Seminaires/Oeuvre/intertextualite.    (16 November2550).
Duffy, Emily. Mondrian Mobile. (no date) [online]. Available         http://www.artcaragency.comshowcase.php?cat=predominantly painted (16           November 2550).
Mondrian, Piet. Composition in Red, Yellow and Blue. (no date) [online].                 Available                 http://www.theoriginalsoundtrack.com/blod/archives/00000595.html (16 November 2550).
CREDIT by :AOOM


Thursday, November 14, 2013

Kang-leang(แกงเลียง)!!!! A delicious thaifood O.O


แกงเลียง
เครื่องปรุง
ฟักทองเนื้อดี หันชิ้นพอคำ จำนวน 10 – 12 ชิ้น
บวบเหลี่ยม (หักชิมดูเสียก่อนว่าไม่ขม) ประมาณ 1 ลูก ขนาดพอดีปอกเปลือกออกจนเกลี้ยงเกลา ให้เหลือเปลือกไว้บ้าง เพื่อรักษาคุณค่าทางอาหาร หั่นเป็นชิ้นขนาด 12 – 15 ชิ้น
ข้าวโพดอ่อนหั่นแฉลบ 4 ฝัก
กระชาย 2 หัว ทุบเบาๆแล้วหั่นเป็นท่อนยาวประมาณ 1 นิ้ว
ตำลึงยอดงามๆสัก 10 ยอดเด็ดเอาแต่ใบอ่อนๆ
ใบแมงลัก 3 – 4 กิ่ง เด็ดเอาแต่ใบหรือยอดดอกอ่อนๆ
กุ้งแม่น้ำหรือกุ้งชีแฮ้ 6 – 7 ตัว ปอกเปลือกเอาเส้นดำออก
น้ำซุป(จากการต้มซี่โครงหมูหรือโครงไก่) 4 ถ้วยตวง

น้ำปลาดี 2 ช้อนโต๊ะ
ถ้าชอบเผ็ดเพิ่มพริกขี้หนูสดอีก5 – 6 เม็ด บุบพอแตก
แกงเลียง

อาหารที่มีรสชาติเฉพาะตัวอร่อยเผ็ดร้อนพริกไทย หอมกลิ่นสมุนไพรจากพืชผักหลากหลายชนิด มีประโยชน์ในการขับพิษ ไข้เป็นอย่างดี

แกงเลียง เป็นแกงที่ประกอบด้วยน้ำพริก ผัก เนื้อสัตว์ น้ำแกงและเครื่องปรุงรส น้ำพริกแกงเลียงจะแปลกกว่าน้ำพริกแกงชนิดอื่นๆ เพราะมีพริกไทย หัวหอม กะปิ กุ้งแห้ง ปลาย่างหรือปลากรอบ น้ำแกงมีลักษณะข้น 

แกงเลียง คือ ใบแมงลักมีกลิ่นหอม่ารับประทาน นอกจากนั้นยังมีผักเช่น ตำลึง ฟักทอง ข้าวโพดอ่อน หัวปลี บวบ ผักหวาน ฯลฯ เนื้อสัตว์ ได้แก่ กุ้งสด เนื้อไก่ ฯลฯ ปรุงรสด้วยน้ำปลาหรือเกลือ อิ้อฮือ! แค่นึกถึงภาพก็น้ำลายไหลซะแล้ว แต่ก่อนอื่นเราไปรู้จักวิธีการทำ “แกงเลียง” ดีกว่าค่ะ


เครื่องปรุงพริกแกง
พริกชี้ฟ้าแดงผ่าเอาเมล็ดออก 2 เม็ด
กระชาย 4 หัว
หอมแดงหัวขนาดกลาง 5 หัว
พริกไทยขาว 12 เม็ด
กะปิเผาไฟพอสุก 2 ขีดครึ่ง
กุ้งแห้ง 2 ขีดครึ่ง


?วิธีทำ
นำเครื่องปรุงพริกแกงโขลกให้ละเอียด ถ้าชอบให้น้ำแกงข้นอีกนิดก็ใช้เนื้อปลา จะย่างหรือต้มสุกก็ได้แล้วนำมาโขลกรวมกับพริกแกง
นำน้ำซุปตั้งไฟพอเดือด ใส่เครื่องแกงลงไป ปรุงรสด้วยน้ำปลา ชิมให้ได้รสเค็มและเผ็ดนิดๆพอน้ำแกงเดือดอีกทีใส่ผักชนิดที่สุกยากลงก่อน เช่น ฟักทอง ข้าวโพดอ่อน ตามด้วยกุ้งสดรอจนแน่ใจว่าผักสุกดีแล้วจึงใส่ใบตำลึง
ใส่ใบแมงลักเป็้นรายการสุดท้ายแล้วคนให้เข้ากัน ตักเสิร์ฟขณะร้อนได้รสชาติดี


สรรพคุณทางยา
พริกไทย รสเผ็ดร้อน ขับลม ขับเหงื่อ ช่วยเจริญอาหาร
หอมแดง รสเผ็ดร้อน แก้ไข้เพื่อเสมหะ บำรุงธาตุ แก้ไข้หวัด
ผักต่าง ๆ เช่น ฟักทอง รสมันหวาน บำรุงร่างกาย บำรุงสายตา
บวบ รสเย็นจืดออกหวาน มีแคลเซียม เหล็กและฟอสฟอรัสมาก
น้ำเต้า
- ผลอ่อน ใช้ปรุงอาหาร
- เมล็ด ประเทศจีนนำมาต้มกับเกลือกินเพื่อเจริญอาหาร เถา, ใบอ่อน, เนื้อหุ้มรอบ ๆ เมล็ด ประเทศอินเดียใช้เป็นยาทำให้อาเจียนและยาระบาย เป็นยาถ่ายพยาธิและแก้อาการบวมน้ำ
ตำลึง รสเย็น ใบสดตำคั้นน้ำแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย ปวดแสบปวดร้อน และคั้นรับประทานเป็นยาดับพิษร้อน แก้เจ็บตา ตาแดง ตาแฉะ
ข้าวโพด รสมันหวาน
-เมล็ด เป็นยาบำรุงกระเพาะอาหาร ฝาด สมานบำรุงหัวใจ ปอด เจริญอาหาร ขับปัสสาวะ
ใบแมงลัก ใบสด รสหอมร้อน เป็นยาแก้หวัด แก้หลอดลมอักเสบ แก้โรคท้องร่วง ขับลม

หมายเหตุ
แกงเลียงที่อร่อยมักจะต้องสด ใหม่ จึงจะทำให้น้ำแกงหวานโดยธรรมชาติ และหอมน้ำพริกแกง ควรรับประทานขณะร้อนๆ แกงเลียงมักจะรับประทานกับน้ำพริกกะปิ


ประโยชน์ทางอาหาร
แกงเลียงมีส่วนประกอบพริกขี้หนู หอม พริกไทย กะปิ เกลือ กุ้งแห้ง ผักต่าง ๆ เช่น บวบ ฟักทอง น้ำเต้า ตำลึง ข้าวโพด ใบแมงลัก โบราณเชื่อว่าเป็นอาหารที่ช่วยประสะน้ำนมสำหรับสตรีหลังคลอด ทำให้นมบริบูรณ์ และแก้ไข้หวัดได้เป็นอย่างดี


Wednesday, November 13, 2013

THE HEIRS- 상속자들

<3 The Heirs!!!!!


The Heirs" depicts the friendships, rivalries and love lives of young, rich heirs led by Kim Tan (Lee Min-Ho) and a girl named Cha Eun-Sang (Park Shin-Hye). Unlike the others, Cha Eun-Sang is considered ordinary and comes from a poor background.

18-year-old Cha Eun-Sang lives with her mother who is mute. Her mother works as a housekeeper and Eun-Sang also works part-time jobs to help out. One day, Eun-Sang's older sister (Yoon Jin-Seo) calls from the U.S. and informs them that she will marry. Eun-Sang's mother then asks Eun-Sang to send her older sister some money from her savings account. Eun-Sang isn't happy with her situation and decides to go to the U.S. herself to see if she can start a better life with her sister.


When Eun-Sang arrives in California she is in for a shock. Her older sister lives in a filthy home with a deadbeat boyfriend who seems violent. Her sister is also not getting married or going to school and works full-time as a waitress. When Eun-Sang finally tracks down her sister working at a beach front restaurant, she takes the money Eun-Sang brought for her wedding and leaves without even saying goodbye. Eun-Sang's dreams of starting a better life in America quickly vanishes and she crumbles to the ground in tears.
Meanwhile, Kim Tan is not your typical high school student, but a handsome and wealthy Korean heir to a large conglomeration. He is sitting out on the patio of the beach front restaurant, watching everything unfold between Eun-Sang and her sister. Kim Tan's American friend then sees a ziplock bag with a powdery substance fall out of Eun-Sang's suitcase and runs over to scoop it up. Kim Tan knows immediately that the ziplock bag doesn't contain drugs, but rather powder grain to make traditional Korean drinks. Soon, Eun-Sang runs off after Kim Tan's friend and Kim Tan goes to help Eun-Sang. When the dust is settled, Eun-Sang walks out of a police station and her passport is temporarily confiscated. With nowhere to go for Eun-Sang, Kim Tan offers to let her stay at his home. Although they seem to come from different worlds, they quickly develop a rapport for each other. But, when Kim Tan is at school, Eun-Sang meets a girl named Rachel (Kim Ji-Won). Rachel informs Eun-Sang that she is Kim Tan's fiance and she demands that Eun-Sang leaves his home immediately. Eventually, Eun-Sang returns to South Korea.

Kim Tan now feels nothing but emptiness after Eun-Sang's departure. He decides to go back to Korea even though his older stepbrother Won (Choi Jin-Hyuk) strongly opposes his return. When Kim Tan gets back to his luxurious mansion like home, he sees someone briefly that resembles Eun-Sang. Kim Tan goes to his mother Ki-Ae (Kim Sung-Ryoung) and asks about the unfamiliar, but familiar girl that he briefly saw. His mother tells him that the girl is their housekeeper's daughter and her name is Cha Eun-Sang. She's also staying in their home.
Notes


"The Heirs" takes over the Wednesday & Thursday 21:55 time slot previously occupied by "Master's Sun" and will be followed by "You Who Came From the Stars" in December, 2013.
Singer/actor Jung Yong-Hwa from Kpop group "CN BLUE" was originally cast as one of the main supporting characters, but dropped out of the project. According to his management company FNC Entertainment, differences between between production company Hwa & Dam Pictures and FNC Entertainment over Jung Yong-Hwa's character could not be mutually satisfied.
First script reading took place August 5, 2013 at SBS Production Center in Ilsan, South Korea. The first script reading took more than 4 hours to complete.
Filming for "The Heirs" moves to the United States in September, 2013 for a 3 week period. Actor Lee Min-Ho left for the United States on September 2 & Park Shin-Hye on September 6. Filming began on location in the United States on September 8, 2013. First scene filmed took place at an almond farm in California with Lee Min-Ho & Park Shin-Hye. Filming will take place around Los Angeles, California, including beaches in Malibu, as well as other locations.






DON'T MISS IT!



The Heirs-Lee Min-Ho.jpgThe Heirs-Park Shin-Hye.jpgThe Heirs-Kim Woo-Bin.jpgThe Heirs-Kang Min-Hyuk.jpgThe Heirs-Choi Jin-Hyuk.jpg
Lee Min-HoPark Shin-HyeKim Woo-BinKang Min-HyukChoi Jin-Hyuk
Kim TanCha Eun-SangChoi Young-DoYoon Chan-YoungKim Won
The Heirs-Kang Ha-Neul.jpgKrystalKim Ji-WonThe Heirs-Park Hyung-Sik.jpgThe Heirs-Jeon Soo-Jin.jpg
Kang Ha-NeulKrystalKim Ji-WonPark Hyung-SikJeon Soo-Jin
Lee Hyo-ShinLee Bo-NaRachel YooJo Myung-SooKang Ye-Sol
The Heirs-Lim Ju-Eun.jpg  The Heirs-Kim Sung-Ryoung.jpg
Lim Ju-EunKim Sung-Ryoung
Jeon Hyun-JooHan Ki-Ae


Saturday, November 2, 2013

เนื่องจากแอดมินชอบวอลเลย์บอล แล้วก็สนใจเป็นพิเศษ ก็เลยอยากจะให้ทุกคนรู้ประวัติวอลเลย์บอลสักนี้ดนึงนะจ๊ะ:P


ประวัติวอลเลย์บอล ข้อมูล กีฬาวอลเลย์บอล
กีฬาวอลเลย์บอลเป็นอีกหนึ่งชนิดกีฬายอดนิยม ที่มีการแข่งขันระดับชาติ และนิยมเล่นกันอย่างแพร่หลาย จนถูกรวมเข้ากับหลักสูตรการเรียนการสอนชั้นมัธยมศึกษาในหลายโรงเรียน ซึ่งหลายคนก็คงอยากรู้จักกับกีฬาวอลเลย์บอลให้มากขึ้นเพื่อความสนุกในการชมและเชียร์กีฬาชนิดนี้ใช่ไหมเอ่ย ? วันนี้กระปุกดอทคอมมีข้อมูลของกีฬาวอลเลย์บอลมาฝากกันจ้า ..





กีฬาวอลเลย์บอล (Volleyball) นั้น ถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ.1895 (พ.ศ.2438) โดย นายวิลเลียม จี. มอร์แกน (William G. Morgan) ผู้อำนวยการฝ่ายพลศึกษาของสมาคม Y.M.C.A. (Young Men's Christian Association) ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ต้องการมีกีฬาสำหรับเล่นในช่วงฤดูหนาวแทนกีฬากลางแจ้ง เพื่อออกกำลังกายและพักผ่อนหย่อนใจยามหิมะตก


โดย นายวิลเลียม จี. มอร์แกน เกิดไอเดียในการพัฒนากีฬาวอลเลย์บอลขึ้น ขณะที่เขากำลังนั่งดูเทนนิส และเลือกนำเอาตาข่ายกลางสนามของกีฬาเทนนิส มาเป็นส่วนประกอบในกีฬาที่เขาคิดค้น และเลือกใช้ยางในของลูกบาสเก็ตบอล มาเป็นลูกบอลที่ใช้ตีโต้ตอบกันไปมา แต่ยางในของลูกบาสเก็ตบอลกลับให้น้ำหนักเบาจนเกินไป จึงเปลี่ยนไปใช้ลูกบาสเก็ตบอลแทน ซึ่งลูกบาสเก็ตบอลก็มีขนาดใหญ่และน้ำหนักมากจนเกินไปอีก เขาจึงสั่งทำลูกบอลขึ้นมาใหม่โดยเฉพาะ ในขนาดเส้นรอบวง 25-27 นิ้ว และกำหนดน้ำหนักไว้ที่ 8-12 ออนซ์ จากนั้นจึงตั้งชื่อกีฬาชนิดนี้ว่า มินโทเนตต์ (Mintonette)

ต่อมา ชื่อของ มินโทเนตต์ (Mintonette) ถูกเปลี่ยนเป็น วอลเลย์บอล (Volleyball) หลังได้รับคำแนะนำจาก ศาสตราจารย์ อัลเฟรด ที เฮลสเตด (Professor Alfred T. Helstead) ในงานประชุมสัมมนาผู้นำทางพลศึกษาที่วิทยาลัยสปริงฟิลด์ (Spring-field College) เมื่อปี ค.ศ.1896 (พ.ศ.2439) และกลายเป็นกีฬายอดนิยมในหมู่ประชาชนชาวอเมริกัน จนแพร่หลายออกไปทั่วโลก รวมทั้งมีการปรับปรุงและพัฒนาอยู่เป็นระยะ

การสนับสนุนและส่งเสริมกีฬาวอลเลย์บอล
ผู้อำนวยการพลศึกษาต่างๆ ของ Y.M.C.A. พยายามส่งเสริมและให้การสนับสนุนกีฬาชนิดนี้โดยนำเข้าไปฝึกในโรงเรียน ซึ่งครูฝึกพลศึกษาของมหาวิทยาลัยสปริงฟิลด์ ในมลรัฐแมสซาชูเซตส์ กับมหาวิทยาลัย George William มลรัฐอิลลินอยส์ ได้เผยแพร่กีฬาชนิดนี้ไปทั่วสหรัฐอเมริกาและแคนาดา โดยมีการทำเป็นแบบแผน เพื่อจะได้นำไปเผยแพร่ต่อไปดังนี้
1. นาย Elwood s. Brown ได้นำกีฬาวอลเลย์บอลไปสู่ประเทศฟิลิปปินส์
2. นาย J. Haward Crocher นำไปเผยแพร่ที่ประเทศจีน
3. นาย Franklin H. Brown นำไปเผยแพร่ที่ประเทศญี่ปุ่น
4. Dr. J.H. Cary นำไปเผยแพร่ที่ประเทศพม่า และอินเดีย

ปี พ.ศ. 2453 นาย Elwood S. Brown เดินทางไปฟิลิปปินส์ ได้ช่วยจัดตั้งสมาคม และริเริ่มการแข่งขันครั้งแรกที่กรุงมะนิลา ในปี พ.ศ. 2456 โดยเรียกการแข่งขันครั้งนี้ว่า Far Eastern Games

ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 Dr.Grorge J. Fischer เลขาธิการปฎิบัติการสงคราม ได้นำเอากีฬาวอลเลย์บอลเข้าไว้เป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งในการฝึกทหารในค่าย ทั้งในและนอกประเทศ และได้พิมพ์กฎกติกากีฬาวอลเลย์บอลเพื่อแจกจ่ายไปยังหน่วยต่างๆ ของทหาร ทั้งกองทัพบกและกองทัพเรือ เพื่อให้ทหารได้ใช้เวลาว่างกับกีฬาโดยอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ลูกวอลเลย์บอล และตาข่ายจำนวนหลายหมื่นชิ้นได้ถูกส่งไปยังค่ายทหารที่ประอยู่ตามหน่วยต่างๆ ทั้งในประเทศและกอง ทัพพัธมิตร นับว่า Dr.Grorge J. Fisher เป็นผู้ช่วยเหลือกีฬาวอลเลย์บอลเป็นอย่างมากจน ได้ชื่อว่า บิดาแห่งกีฬาวอลเลย์บอล

ปี พ.ศ. 2465 ได้มีการปรับปรุงกฎกติกาของวอลเลย์บอลใหม่ โดยสมาคม Y.M.C.A. และสมาคมลูกเสือแห่งอเมริกัน N.O.A.A. ได้จัดการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลขึ้นมีรัฐต่างๆ ส่งเข้าแข่งขัน 11 รัฐ มีทีมเข้าแข็งขันทั้งสิ้น 23 ทีม รวมทั้งทีมจากแคนาดา

ปี พ.ศ. 2467 กองทัพบกและกองเรือของสหรัฐอเมริกา ได้ส่งเสริมกีฬาวอลเลย์บอลอย่างจริงจัง จนกระทั่งได้แพร่เข้าไปยังกลุ่มโรงเรียน และสมาคมต่างๆ ซึ่งเรียกกันว่าสมาคมกีฬาและสันทนาการแห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งภายหลังได้เปลี่ยนเป็นสันทนาการแห่งชาติ ได้นำเอากีฬาวอลเลย์บอลบรรจุไว้ในกิจกรรมของสมาคม

วันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2471 ไดมีการตั้งสมาคมวอลเลย์บอลแห่งสหรัฐอเมริกาขึ้น เรียกว่า The Untied States Volleyball Association มีชื่อย่อ USVBA ที่ Dr. George J. Fischer เป็นประธาน และ Dr. John Brown เป็นเลขาธิการ ได้ตั้งความมุ่งหมายในการบริหารกีฬาวอลเลย์บอลออกเป็นข้อๆ ดังต่อไปนี้

1. จัดการประชุมประจำปีเพื่อจดทะเบียนมาตรฐานของกีฬาวอลเลย์บอลให้ดีขึ้น
2. วางแผนงานพัฒนากีฬา และการจัดการแข่งขัน
3. จัดการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งชาตb
4. พัฒนากติกาในการเล่นให้ดีขึ้น
5. จัดหาสมาชิกให้เพิ่มขึ้น

ปี พ.ศ. 2479 ได้มีการจัดการแข่งขันประจำปีที่นครนิวยอร์ก จากการแข่งขันนี้ทำให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับการแข่งขันวอลเลย์บอลดีขึ้น โดยมีสมาชิกเข้าร่วมจำนวนมาก

ปี พ.ศ. 2483 สมาคม USVBA ได้รับสมาชิกเพิ่ม 2 ทีม คือ มหาวิทยาลัยเทเบิล และมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย และได้มีการแข่งขันประเภทประชาชนทั่วไปที่รัฐฟิลาเดลเฟีย

ปี พ.ศ. 2485 มีการแบ่งเขตออกเป็น 12 เขต สมาชิกต่างๆ ได้ขอร้องให้สมาคม Y.M.C.A. หยุดรับสมาชิกเพราะมีสมาชิกมากเกินไป ทำให้บริการได้ไม่ทั่วถึง เอกอัครราชทูตของรัสเซีย ในกรุงวอชิงตัน ได้ส่งเอกสารเกี่ยวกับกฎกติกาของวอลเลย์บอล ซึ่งได้จัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม โดยมีนาย Herry E. Willson และ Dr. David T. Gaodon เป็นผู้จัดพิมพ์ขึ้น

วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2485 นาย William G. Morgan ผู้ริเริ่มกีฬาวอลเลย์บอลได้ถึงแก่กรรม

ปี พ.ศ. 2486 สมาคมสตรีของ AAHPER (America Association of Health,Physical Education and Recreation) โดยมี Dr. John Brown เป็นเลขาธิการและเหรัญญิกของสมาคมได้นำเอากีฬาวอลเลย์บอลบรรจุเข้าไว้ในกิจกรรมของสมาคมสตรี และดำเนินการแข่งขันภายในกลุ่ม


ระหว่างวันที่ 1-7 พฤษภาคม พ.ศ. 2487 ได้จัดให้มีการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลนานาชาติขึ้น โดยมีทีมที่สนใจเข้าร่วมการแข่งขันจำนวนมาก


ปี พ.ศ. 2489 ได้เริ่มมีการสอนกีฬาวอลเลย์บอล โดยใช้อุปกรณ์การสอน เช่น ภาพยนตร์เกี่ยวกับการเล่นและการแข่งขันซึ่งเป็นฟิล์ม 16 มิลลิเมตร จำนวน 2 ม้วน ในการทำภาพยนตร์ครั้งนี้คิดเป็นเงินประมาณ 7,800 ดอลลาร์ฯ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ได้มีการประชุมเกี่ยวกับการแข่งขันระหว่างชาติ โดยเริ่มที่ชิคาโก ซึ่ง Andrew Stewert เลขาธิการโอลิมปิกแห่ง สหรัฐอเมริกา เพื่อนำกีฬาวอลเลย์บอลจัดแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกต่อไป

ปี พ.ศ. 2490 ได้มีกฎกติกาจัดพิมพ์ใหม่ โดยสมาคม USVBA ซึ่งทางสมาคมได้ส่งนาย FB. De Groot และนาย Royal L. Thomas เป็นตัวแทนเข้าร่วมประชุมที่กรุงปารีส โดยร่วมจัดการแข่งขันระหว่างชาติขึ้น ซึ่งเป็นผลให้เกิดสหพันธ์กีฬาวอลเลย์บอลนานาชาติขึ้นในต้นปีนี้เอง

ปี พ.ศ. 2491 มีการประชุมสมาคม USVBA ที่ South Bend Indiana และปรับปรุงสมาคม USVBA มีการเลือกตั้งคณะกรรมการใหม่ขึ้น โดยสมาคมได้ส่งทีมวอลเลย์บอลชายไปตระเวนแข่งขันในยุโรป

ปี พ.ศ. 2492 หนังสือ Time Game เขียนโดยสมาคม USVBA รายงานการแข่งขันวอลเลย์บอลที่ลอสแอนเจลีส ซึ่งเป็นการแข่งขันระหว่างประเทศ ผู้ที่ชนะเลิศได้แก่ รัสเซีย ที่ 2 ได้แก่ เชโกสโลวาเกีย และในปีนี้เองประเทศผรั่งเศสได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกของสมาคม USVBA ด้วย

ปี พ.ศ. 2493 Dr. Fisheer ข้าราชการบำนาญที่มาร์แชลแอลเวลเตอร์ ได้นัดประชุมผู้นำทางกีฬาวอลเลย์บอล โดยแต่ละประเทศได้เขียนรายงานการประชุมเป็นภาษาสวิส และมีการสาธิตการเล่นกลางแจ้ง และในปีนี้ประเทศอังกฤษได้นำเอากีฬาวอลเลย์บอลไว้ในกิจกรรมของสมาคม Y.M.C.A. ของอังกฤษด้วย

ปี พ.ศ. 2494 นาย Robert J. Lavelca ได้ทำสไลด์เกี่ยวกับทักษะเบื้องต้นในการเล่นกีฬาวอลเลย์บอลขึ้น

ปี พ.ศ. 2495 ได้มีการจัดแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงขึ้นครั้งแรก โดยมีนาย Migaki Nishikawa ประธานสมาคมวอลเลย์บอลแห่งประเทศญี่ปุ่น โดยจัดให้มีการแข่งขันระหว่างประเทศในแถบตะวันออกไกล และกีฬาวอลเลย์บอลนี้ได้ถูกจัดเข้าแข่งขันในโอลิมปิกครั้งแรกที่เมืองเฮลซิงกิ และมีการแข่งขันวอลเลย์บอลชิงแชมป์โลกครั้งแรกที่เมืองสโคร์ จากนั้นสมาคมวอลเลย์บอลแห่งญี่ปุ่นก็มีการส่งเสริมกีฬาชนิดนี้มาก โดยส่งทีมวอลเลย์บอลของมหาวิทยาลัย Lashita ซึ่งชนะเลิศการแข่งขันของประเทศญี่ปุ่นไปแข่งที่สหรัฐอเมริกา

กติกาวอลเลย์บอล
สนามแข่งขัน

- จะต้องเป็นพื้นไม้หรือพื้นปูนที่มีลักษณะเรียบ ไม่มีสิ่งกีดขวาง

- เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 9 เมตร ยาว 12 เมตร ความสูงจากพื้นประมาณ 7 เมตร มีบริเวณโดยรอบห่างจากสนามประมาณ 3 เมตร

- แต่หากเป็นสนามมาตรฐานในระดับนานาชาติ กำหนดให้รอบสนามห่างจากสนามประมาณ 5 เมตร ด้านหลังห่าง 8 เมตร และมีความสูง 12.5 เมตร

- เส้นรอบสนาม (Boundary lines) ทุกเส้นจะต้องกว้าง 5 เซนติเมตร เป็นสีอ่อนตัดกับพื้นสนาม มองเห็นได้ชัดเจน

- เส้นแบ่งเขตแดน (Center line) ที่อยู่ตรงกลางสนาม จะต้องอยู่ใต้ตาข่าย หรือตรงกับเสาตาข่ายพอดี

ตาข่าย

- จะต้องมีความสูงจากพื้น 2.43 เมตร กว้าง 1 เมตร ยาว 9.5 - 10 เมตร

- ตารางในตาข่ายกว้าง 10 เซนติเมตร ผู้ติดไว้กับเสากลางสนาม

- ตาข่ายสำหรับทีมหญิงสูง 2.24 เมตร

ลูกวอลเลย์บอล




- เป็นทรงกลมมีเส้นรอบวงประมาณ 65-67 เซนติเมตร น้ำหนัก 260-280 กรัม

- ทำจากหนังสังเคราะห์ที่ยืดหยุ่นได้

- ซึ่งในการแข่งขันระดับโลกจะใช้ลูกบอล 3 ลูกต่อการแข่งขัน เพื่อความต่อเนื่องหากบอลออกนอกสนาม

ผู้เล่น





- ในทีมจะต้องมีผู้เล่นไม่เกิน 12 คน ผู้ฝึกสอน 1 คน ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน 1 คน เทรนเนอร์ 1 คน และแพทย์ 1 คน

- ผู้เล่นจะลงเล่นในสนามได้ครั้งละ 6 คน โดยแบ่งออกเป็นหน้าตาข่าย 3 คน และด้านหลังอีก 3 คน

- สามารถเปลี่ยนตัวผู้เล่นครั้งละกี่คนก็ได้ โดยผู้เล่นเดิมที่ถูกเปลี่ยนออก สามารถเปลี่ยนกลับมาเล่นในสนามได้อีก

- การแต่งกายในชุดแข่งขัน ต้องแต่งกายเหมือนกันทั้งทีม ประกอบไปด้วย เสื้อสวมคอ กางเกงขาสั้น ถุงเท้า และรองเท้าผ้าใบพื้นยางที่ไม่มีส้น โดยผู้เล่นแต่ละคนจะต้องติดหมายเลขกำกับไว้ที่เสื้อ กำหนดให้ใช้เลข 1-18 เท่านั้น สำหรับหัวหน้าทีมจะต้องมีแถบผ้าขนาด 8x2 เซนติเมตร ติดอยู่ใต้หมายเลขบริเวณอกเสื้อด้วย


วิธีการเล่น



- ทีมที่ได้เสิร์ฟ จะต้องให้ผู้เล่นที่อยู่ในตำแหน่งขวาหลัง เป็นผู้เสิร์ฟเพื่อเปิดเกม จากนั้นผู้เล่นทุกตำแหน่งจะขยับตำแหน่งวนไปตามเข็มนาฬิกา

- การเสิร์ฟจะต้องรอฟังสัญญาณนกหวีดก่อน และให้เริ่มเสิร์ฟลูกบอลภายใน 5 วินาที

- ทีมที่ได้คะแนนจะเป็นผู้ได้เสิร์ฟ จนกว่าจะเสียคะแนนให้ฝ่ายตรงข้ามจึงจะเปลี่ยนเสิร์ฟ

- เมื่อลูกเข้ามาในเขตแดนของทีม จะสามารถเล่นบอลได้มากที่สุด 3 ครั้งเท่านั้น

- สามารถบล็อคลูกบอลจากฝ่ายตรงข้ามที่หน้าตาข่ายได้ แต่หากผู้เล่นล้ำเข้าไปในแดนของฝ่ายตรงข้ามจะถือว่าฟาวล์

- สามารถขอเวลานอกได้ 2 ครั้งต่อ 1 เซต ให้เวลาครั้งละ 30 วินาที

- ทุกครั้งที่แข่งขันจบ 1 เซต จะต้องมีการเปลี่ยนฝั่ง

การคิดคะแนน

- ทีมจะได้คะแนนเมื่อลูกบอลตกลงในเขตสนามของฝ่ายตรงข้าม โดยนับเป็นลูกละ 1 คะแนน และหากมีการเสียคะแนน จะต้องเปลี่ยนให้ทีมที่ได้คะแนนเป็นผู้เสิร์ฟ

- หากทีมไหนได้คะแนนครบ 25 คะแนนก่อน ก็จะเป็นผู้ชนะในเซตนั้นไป แต่หากคะแนนเสมอกันที่ 24-24 จะต้องมีการดิวซ์ (Deuce) หมายถึงต้องทำคะแนนให้มากกว่าอีกฝ่าย 2 คะแนน ถึงจะเป็นผู้ชนะ เช่น 26-24 หรือ 27-25 เป็นต้น

- ต้องแข่งขันกันให้ชนะ 3 ใน 5 เซต จึงจะเป็นผู้ชนะในเกมนั้น