Monday, February 3, 2014

ธงไตรรงค์ หรือ"Tricolors Flag"(Thai flag)


ธงชาติไทย ปัจจุบันเรียกว่า ธงไตรรงค์


flag_h8ความหมายของสีธงไตรรงค์คือ
สีแดง หมายถึงชาติ และ ความสามัคคี ของคนในชาติ
สีขาว หมายถึงศาสนา ซึ่งเป็นเครื่องอบรมสั่งสอนจิตใจให้บริสุทธิ์
สีน้ำเงิน หมายถึงพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขของประเทศ
flag_h3รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทำหนังสือสัญญาเปิดการค้าขายกับชาวตะวันตกในพ.ศ. ๒๓๙๘ มีเรือสินค้าของประเทศต่างๆ ในยุโรปและอเมริกาเดินทางเข้ามาค้าขายมากขึ้น และมีสถานกงสุล ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ สถานที่เหล่านั้นล้วนชักธงชาติของตนขึ้นเป็นของตนขึ้นเป็นสำคัญ จึงจำเป็นที่จะต้องมีธงชาติที่แน่นอน จึงทรงพระราชดำริว่า ธงสีแดงซึ่งเรือสินค้าไทยใช้อยู่นั้นซ้ำกับประเทศอื่น ยากแก่การสังเกตไม่สมควรใช้อีกต่อไป ควรจะใช้ธงอย่างเรือหลวงเป็นธงชาติ แต่โปรดให้เอารูปจักรออกเสียเพราะเป็นเครื่องหมายเฉพาะพระเจ้าแผ่นดิน คงไว้แต่รูปช้างเผือกอยู่กลางธงแดง
flag_h4ในระหว่างรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการออกพระราชบัญญัติว่าด้วยแบบอย่างธงหลายครั้ง คือพระราชบัญญัติว่าด้วยแบบอย่างธงสยาม รศ.๑๑๐ พระราชบัญญัติธงรัตนโกสินทรศก ๑๑๖ พระราชบัญญัติธง รัตนโกสินทรศก ๑๑๘ ทุกฉบับได้ยืนยันลักษณะของธงชาติว่าเป็นธงพื้นแดง กลางเป็นรูปช้างเผือก ไม่ทรงเครื่องหันหน้าเข้าเสาทั้งสิ้น
flag_h5ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ออกประกาศแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติธง รัตนโกสินทรศก ๑๒๙ เมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๔๕๙ แก้ไขลักษณะธงชาติเป็น"ธงพื้นแดง กลางเป็นรูปช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่น หันหลังเข้าเสา ประกาศนี้เริ่มให้บังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๔๕๙ (ขณะนั้นยังนับเดือนเมษายนเป็นเดือนเริ่มศักราชใหม่ )
flag_h9ในพ.ศ. ๒๔๖๐ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนำประเทศไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่๑ ทรงพระราชดำริว่า การประกาศสงครามนับเป็นความเจริญก้าวหน้าขั้นหนึ่งของประเทศ สมควรจะมีสิ่งเตือนใจ สำหรับวาระนี้ไว้ภายหน้า สิ่งนั้นควรได้แก่ "ธงชาติ" ทรงเห็นว่าลักษณะที่แก้ไขใน พ.ศ. ๒๔๕๙ นั้น ยังไม่สง่างาม ๗งโปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มแถบน้ำเงินแก่ขึ้นอีกสีหนึ่งเป็นสามสี ตามลักษณะของธงนานาชาติที่ใช้กันอยู่ เพื่อให้เป็นเครื่องหมายว่าไทยเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร และอีกประการหนึ่งสีน้ำเงินเป็นสีประจำพระชนมวารเฉพาะพระองค์ จึงเป็นสีที่ควรประดับไว้ในธงชาติไทย ดังนั้นในปี๒๔๖๐ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติ ธง พระพุทธศักราช ๒๔๖๐ ออกประกาศเมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๐ มีผลบังคับภายหลังวันออกประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้ว ๓๐ วัน ลักษณะธงชาติมีดังนี้ คือ
เป็นธงรูปสี่เหลี่ยมรี ขนาดกว้าง ๒ ส่วน ยาว ๓ ส่วน มีแถบสีนำเงินแก่กว้าง ๑ ใน ๓ ของความกว้างของธงอยู่กลาง มีแถบสีขาวกว้าง ๑ ใน ๖ ของความกว้างของธงข้างละแถบ แล้วมีแถบแดงกว้างเท่ากับแถบขาวประกอบข้างนอกอีกข้างละแถบ และ พระราชทานนามว่า "ธงไตรรงค์" ส่วนธงรูปช้างกลางธงพื้นแดงของเดิมนั้นให้ยกเลิก ความหมายของสีธงไตรรงค์คือ สีแดงหมายถึงชาติ และ ความสามัคคี ของคนในชาติ สีขาวหมายถึงศาสนา ซึ่งเป็นเครื่องอบรมสั่งสอนจิตใจให้บริสุทธิ์ สีนำเงินหมายถึงพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขของประเทศ
ครั้นถึงรัชกาลที่ ๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ได้มีพระราชบันทึกพระราชทานไปยังองคมนตรี เพื่อให้เสนอความเห็นของคนหมู่มากว่า จะคงใช้ธงไตรรงค์ดังที่ใช้อยู่เป็นธงชาติต่อไป หรือจะกลับไปใช้ธงช้างแทน หรือจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงลักษณะธงชาติ กับวิธีใช้ธงไตรรงค์อย่างไร ปรากฏว่าความเห็นขององคมนตรีแตกต่างกระจายกันมาก จึงมิได้กราบบังคมทูลข้อชี้ขาด ดังนั้นจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คงใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติต่อไปตามพระราชวินิจฉัยลงวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘ ได้มีการปรับปรุงพระราชบัญญัติธงซึ่งยังคงใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติเช่นเดิมแต่ ได้อธิบายลักษณะธงไว้เข้าใจง่ายและชัดเจน ดังนี้ ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีขนาดกว้าง ๖ ส่วน ยาว ๙ ส่วน ด้านกว้าง ๒ ใน ๖ ส่วน ตรงกลางเป็นสีจาบต่อจากแถบสีจาบออกไปสองข้าง ๆ ละ ๑ ส่วนใน ๖ สีวนเป็นแถบสีขาว ต่อจากสีขาวออกไปทั้ง ๒ ข้างเป็นแถบสีแดง
รัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้ตราพระราชบัญญัติธง เป็นฉบับแรกในรัชกาล เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๙ ในส่วนที่ว่าด้วยธงชาตินั้นยังใช้ธงไตรรงค์ แต่ได้อธิบายลักษณะธงไว้เข้าใจง่ายและชัดเจน คือ ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีขนาดกว้าง ๖ ส่วน ยาว ๙ ส่วน ด้านกว้าง ๒ใน ๖ ส่วน ตรงกลางเป็นสีขาบ (น้ำเงินเข้ม) ต่อจากแถบสีขาบออกไปทั้งสองข้าง ๆ ละ ๑ ใน ๖ ส่วนเป็นแถบสีขาว ต่อจากสีขาวออกไปทั้ง ๒ ข้างเป็นแถบสีแดง นับแต่นั้นมาไม่มีข้อความใดๆ เปลี่ยนแปลงลักษณะของธงชาติอีก ธงไตรรงค์ จึงเป็นธงชาติไทยสืบมาจนปัจจุบัน

No comments:

Post a Comment